วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2


🌞     แบบฝึกหัด     🌞

    บทที่ 1   


 1.  ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร?
💙  มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันของมนุษย์อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งการทะเลาะวิวาทกัน 
ดังนั้นจึงทำให้ต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนาและกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ 
2.  ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร?

💙  สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะกฎหมายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์ รักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาเป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดเหตุที่ทำให้ไม่พึงพอกันได้ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในที่สุด จนทำให้ไม่อาจดำรงอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข

3.  ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้

💚ก.  ความหมาย

⛳กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

💚ข.  ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย

 ⛳กฎหมายมีลักษณะหรือองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ คือ
    1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
    2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
    3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ 
ให้สังคมสงบสุข
    4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำและ
การงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้

 💚ค.  ที่มาของกฎหมาย

⛳1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
    2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้ว ย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
    3. ศาสนา เป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี 
   4.  คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาในชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดี 
   5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นหรือไม่

💚ง. ประเภทของกฎหมาย

⛳   ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                              
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                              2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                              3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                              4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
       ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                             1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                             2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                             3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา 

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย? จงอธิบาย
💙   มนุษย์มีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ซึ่งการอยู่ร่วมกันของมนุษย์  ย่อมมีความขัดแย้ง จึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม บรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมาย  เพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร? จงอธิบาย
💙  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ  กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
        สภาพบังคับของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่งได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
💙   สภาพบังคับกฎหมายในทางอาญา คือการลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดทางอาญา ซึ่งมีลักษณะสำคัญสำหรับลงโทษผู้กระทำผิด โดยเรียงจากโทษที่หนักสุดไปยังโทษที่เบาสุด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับกฎหมายในทางแพ่ง ได้มีบทบัญญัติไว้ 4 ประการ ได้แก่ โมฆะกรรม โมฆียกรรม การบังคับชำระหนี้ และการชดใช้ค่าเสียหาย 

 7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร? จงอธิบาย
💙   ระบบของกฎหมายแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ 
          1.ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำหนดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญมาก คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย  แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
         2. ระบบคอมมอนลอร์ มีวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษ มีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่ง "เอคควิตี้" เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอร์ เป็นการพฒนาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์
 8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง?
💙   ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่ง ดังนี้
        แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 
ประเภท คือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอกและกฎหมายภายใน 
💢 กฎหมายภายใน มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน 
💢 กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
                      ประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมี 
ประเภท ดังนี้
                                   ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                                   1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                   2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                   3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีบัญญัติ                         
                                    4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                   ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                                   1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                                   2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                                       3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
  9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร?
💙    ศักดิ์ของกฎหมาย คือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน  โดยมีการจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย
          3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ
          4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
          5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
          6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น
          7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอานาจปกครองดูแล
          8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น
ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากร
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก?

💙  กระทำผิด   เพราะรัฐบาลไม่มีสิทธิ์ทำร้ายร่างกายประชาชน!!

11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร? จงอธิบาย
💙   กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง?
💙    การเป็นครูนั้น จำเป็นมากที่ต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา  เพราะกฎหมายคือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆขึ้นในสังคม คนเป็นครูจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายของการศึกษา  จัดการศึกษาอบรมนักเรียนให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน สร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน หากครูไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ก็ยากที่จะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมได้

🆃 🅷 🅰 🅽 🅺      🆈 🅾 🆄





วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1


ประวัติส่วนตัว



ชื่อ-สกุล  :  นางสาวศุภมาศ     รอดทอง    

ชื่อเล่น : ฟ้า               กรุ๊ปเลือด : โอ (O)

วันเกิด   :    8   กันยายน  2538     

ที่อยู่ 251/1  ม.2   ต.คลองปาง  อ.รัษฎา   จ.ตรัง  92160

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก  :  โรงเรียนทุ่งสง

กีฬาที่ชอบ  :  แบดมินตัน

งานอดิเรก : ดูข่าวใน youtube, ฟังเพลง, ทำอาหาร

อุดมการณ์ความเป็นครู  :  รักศิษย์  เสียสละเพื่อศิษย์

เป้าหมาย  :  จะเป็นครูที่สอนนักเรียนทั้งวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม  
                       ขัดเกลาลูกศิษย์ให้เป็นคนดีของสังคม