วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

👉แบบฝึกหัด  บทที่ 2👈

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ คณะราษฎร์เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เหตุผลที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐภิบาล นโยบายนี้สามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นชอบในการจรรดลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีทั้งหมด 3 หมวด 5 มาตรา ดังนี้
หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมจึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบ การศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง ย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน และรัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร

3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 ทั้งสองปีมีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่  พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้ง 3 ปี พ.ศ.จะส่งเสริมในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2521ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2549-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ  สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงก็เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา เป็นประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษา
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ  บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายของรัฐที่มีการบัญญัติขึ้น เพื่อต้องการให้บุคคลได้รับการศึกษาอบรมอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง มีสิทธิและเสรีภาพเสมอภาคกัน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ สามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถเป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป
ในการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัตินี้ เหตุผลก็เพราะว่ารัฐต้องการให้บุคคลทั้งชายและหญิง ที่มีอายุอยู่ในช่วงที่ได้กำหนดไว้ ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงทุกคน

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
ตอบ  หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า 

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ  เหตุผลที่รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส เพราะว่ารัฐต้องการที่จะส่งเสริมความรักความสามัคคีต่อกันของคนในชาติ และต้องการที่จะรักษาความมีสิทธิและเสรีภาพของคนแต่ละคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งคนแต่ละคนก็ย่อมต้องการสิทธิและเสรีภาพของตนเอง รวมทั้งต้องการให้สังคมเกิดความสงบสุข ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน และเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ฐานะดีหรือไม่ดี

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ การศึกษาของเด็กไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเด็กทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาที่ทางรัฐบาลจัดสรรให้คือการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างเท่าเทียมกันทุกคน เด็กๆได้รับการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี การปลูกจิตสำนึกและการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จะทำให้เด็กรุ่นหลังเกิดการพัฒนาตนและเป็นคนดีของสังคม

 💗💗💗💗💗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น